โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการก่อการร้ายที่สภาพสังคมยังมีการเสื่อมทรามเพิ่มมากขึ้นจากอาชญากรหลบหนีระบบกระบวนการยุติธรรมจนมีความเป็นอยู่แบบแยกแยะผิดชั่วแทบไม่ออก แต่ด้วยสามปีให้หลังจากที่ซูยะ นานาฮาระ (Tatsuya Fujiwara) และโนริโกะ นาคากาวา (Aki Maeda) เป็นผู้รอดจากเกมหฤโหด Battle Royale หรือ BR ได้ทำการหลบหนีออกจากเกาะแห่งนั้นแล้วใช่ชีวิตอย่างหลบๆซ่อนๆจนมาปรากฏตัวอีกครั้งในฐานะกลุ่มต่อต้านรัฐบาลพร้อมกับอุดมการณ์ล้างกลุ่มผู้ใหญ่ที่บังคับให้วัยรุ่นฆ่าฟันกันเองเพื่อความอยู่รอด
ทว่าการกลับมาของซูยะเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำการถล่มทำลายเมืองหลวง ดังนั้นซูยะจึงถูกหมายตาเป็นพิเศษจากคนของรัฐบาลที่ไม่ใช่แค่แหกกฎหนีจากเกม BR แล้วต้องตามเก็บเท่านั้นแต่ต้องกำจัดกลุ่มต่อต้านนี้ให้สิ้นซากแบบให้เจ็บถึงทรวงด้วยการนำเกม BR มาปรับปรุงกติกาใหม่ภายใต้ชื่อว่า BR2 ที่ยังคงเลือกเด็กนักเรียนมัธยมมาใช้หนึ่งห้องเช่นเคย ซึ่งเดิมกฎนั้นมีอยู่ว่าต้องให้นักเรียนมาเข่นฆ่ากันเองภายใน 3 วันเพื่อหาคนที่รอดเป็นคนสุดท้ายจึงจะยอมปล่อยให้เป็นอิสระโดยมีข้อบังคับคือปลอกคอระเบิดที่ถ้าใครฝ่าฝืนหรือไม่ทำตามกฎกติกาที่แจ้งเอาไว้จะระเบิดทันที แต่กฎนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปให้ใช้อย่างเข้มงวดมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องให้นักเรียนมาฆ่าแกงกันเองแต่นำมาใส่ชุดแบกปืนพร้อมรบ โดยเป้าหมายคือซูยะที่ถ้าใครสามารถกำจัดได้สำเร็จจะถือว่าเป็นอิสระไปโดยปริยาย กระนั้นปลอกคอระเบิดยังเป็นเครื่องบังคับที่ทุกคนต้องใส่เช่นเคยและแตกต่างจากทุกทีเมื่อครั้งนี้ต้องจับคู่กันไปถึงจะรอดได้ สรุปคือถ้าเพื่อนที่เราจับคู่ด้วยตายเมื่อไหร่ปลอกคออีกคนหนึ่งจะระเบิดตามๆกันไป พูดง่ายๆคือตายหนึ่งคนเท่ากับตายทั้งสอง อาจจะไม่ต้องทำใจฆ่าเพื่อนแต่ต้องเข้าใจว่าถ้าคู่หู่ตายเท่ากับเราตาย
หลังจากที่ Battle Royale ภาคแรกได้จบลงกับฉากซูยะและโนริโกะต้องใช้ชีวิตด้วยการหลบหนีเพราะต้องข้อหาเป็นคนหนีเกม BR เนื่องจากละเมิดกติกาข้อสำคัญที่ต้องรอดเพียงคนเดียวเท่านั้น การดำเนินเรื่องต่อจึงจัดว่าเป็นไปต่อได้ไม่ยากในการทำให้ซูยะกลายเป็นหัวนำขบวนการต่อต้านผู้ใหญ่ที่ไม่ดีเพื่อให้รุ่นหลังอยู่ได้อย่างเท่าเทียมเพราะเขาได้สัมผัสลิ้มรสเกมบ้าบอวิปริตฆ่าเพื่อนด้วยกันเองมาแล้วจึงไม่ยากถ้าจะบอกความรู้สึกที่อยู่ในใจว่าคิดยังไงถึงต่อต้านและพยายามล้มล้างให้หมดไป แต่ตัวเนื้อเรื่องไม่ได้เข้าไปที่ซูยะกันแบบตรงๆว่ากลุ่มได้เริ่มสร้างมาได้ยังไงและมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดอะไรบ้างในการต่อต้านกับพวกรัฐบาลที่ตอนนี้ได้ระบุกว้างกว่าเดิมว่าเป็นพวกผู้ใหญ่แค่นั้นที่อยากต่อต้านด้วย ในแง่ปมตัวละครซูยะยังทำได้เสมอต้นเสมอปลายรักความถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญซึ่งไม่ได้แตกต่างจากบุคลิกเดิมในภาคแรกที่ยังคงให้ความสำคัญกับเพื่อนมากกว่าตัวเอง ฉะนั้นเมื่อรู้ว่าเป็นนักเรียนที่ถูกจับเล่นเกม BR จึงพยายามจะยุติการต่อสู้เพราะความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนของรัฐบาลส่งมาเองและพร้อมจะช่วยเหลือในท้ายที่สุด
ทว่าเรื่องราวของภาคนี้ได้แตกแขนงมากจนล้นยิ่งกว่าภาคแรกในแง่การเพิ่มมิติตัวละครด้วยการกระจายบทบาทอย่างชิโอริ คิตาโน (Ai Maeda) ที่คุ้นๆคือเป็นลูกสาวของทาเคชิ คิตาโนที่เป็นครูประจำเกม BR ในภาคแรก ทั้งนี้ยังมีความแค้นกับซูยะเป็นการส่วนตัวจนยอมรับข้อเสนอการเข้าร่วม BR อย่างไม่หวาดกลัวคล้ายมุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียวเพื่อล้างแค้นให้พ่อของตน นับเป็นตัวละครที่น่าสนใจแต่แผ่วบางเกินไปในแง่ประเด็นที่ถูกกลบกลืนไปเกือบตลอดทั้งเรื่องก่อนตอนใกล้จบจึงมุ่งเข้าไปที่ตัวละครนี้จนวาระสุดท้ายจึงจะเห็นชัดว่ามีปัญหากับพ่อแต่ไม่อาจกล่าวถึงพ่อได้อีกแม้แต่ขอโทษ ไม่ใช่แค่นั้นแต่ตลอดถึงตัวละครอีกมากมายที่เหมือนจะสวนกระแสเนื้อเรื่องภาคแรกพอสมควรเกี่ยวกับความเป็นเพื่อนที่ดูเหมือนจะแน่นแฟ้นมากขึ้น ซึ่งนั้นคงเป็นเพราะแตกต่างที่ไม่ต้องฆ่าเพื่อนแต่เป็นทำตามคำสั่งกำจัดเป้าหมายโดยต้องทำงานเป็นทีมจึงจะรอดเช่นเดียวกับกฎเรื่องปลอกคอว่าทำไมต้องจับคู่
ริกิ ทาเคอูจิ (Riki Takeuchi) คืออาจารย์ประจำชั้นที่ควบคุมเกม BR ในครั้งนี้ที่มาท่าทีแตกต่างกว่าภาคแรกอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องเอกลักษณ์ที่ไม่รู้ว่าใช่ครูสอนนักเรียนได้อย่างไร เพราะแลดูแล้วไม่ต่างกับจิ๊กโก๋สวมเสื้อหนาสีดำไว้ทรงผมอย่างกับแอลวีส… ทว่าความโหดไม่ได้ดูน้อยหน้าไปกว่ากันในการบอกความโหดร้ายของเกมให้ฟังทีละเล็กละน้อยด้วยหน้าตาที่พยายามเอาโหด ซึ่งในแง่ของเสน่ห์แล้วภาคแรกกินขาดกว่ามากในทางนี้เพราะไม่ต้องทำหน้าโหดแต่อย่างใดแค่แฝงท่าทางที่จริงจังเข้าไปก็โหดเกินบรรยายแล้ว ไม่ต้องมาแสดงหน้าโหดก็ได้
กระนั้นตัวหนังยังให้ตัวละครูมีปมลึกๆในใจอยู่บ้างอย่างในภาคแรกที่เห็นชี้ชัดเลยว่าคนที่รับหน้าที่สอนนักเรียนรับรู้ความรู้สึกยังไงบ้างเวลานักเรียนทำตัวตรงกันข้ามในอย่างที่ครูทุกคนให้เป็น เฉกเช่นเดียวกับริกิที่เห็นเรื่องอุดมการณ์มาแต่ไกลและเริ่มเข้าใจความรู้สึกบางอย่างเมื่อซูยะออกมาประกาศในเรื่องความยุติธรรมปลอมๆกับความยุติธรมมที่แท้จริงมันเป็นยังไงกันแน่ ซึ่งหลังจากฉากนี้ริกิจะค่อยๆลดความโหดของตัวเองลงจนกลายเป็นความสับสนก่อนจะเข้าข้างฝ่ายที่ตัวเองคิดว่าสมควรจะเข้าฝ่ายด้วย ทว่าประเด็นคือตัวละครนี้ไม่ได้แสดงถึงปมในใจเช่นอย่างภาคแรกที่แสดงให้ถึงว่านักเรียนทำกับครูเช่นไรบ้าง ซึ่งมันน่าเจ็บปวดเมื่อเห็นเช่นนั้นแต่กลับการเดินเรื่องในภาคนี้ดูจะไม่สมประกอบเท่าที่ควร เนื่องจากความสับสนที่จะเข้าประเด็นว่าตกลงจะเอาอะไรก่อนกันแน่และคลี่คลายรูปแบบไหนถึงจะเคลียร์ได้จบ
ตัวอย่างชิโอริคือฉากเริ่มเนื้อเรื่องของภาคนี้ที่แสดงเห็นถึงความไม่ร่างเริงคล้ายเด็กเก็บกดและพร้อมยอมรับเงื่อนไขในกฎ BR อย่างโจ้งแจ้ง กระนั้นตัวหนังทำให้ผู้ชมได้รู้อีกด้วยว่าคือลูกสาวทาเคชิหรือครูที่คุมเกมในภาคแรกนั้นเอง ด้วยการเดินเรื่องไปเรื่อยๆทำให้ผู้ชมเริ่มเข้าถึงชิโอริว่าอะไรคือแรงจูงใจในการเข้าร่วมเกมนี้อย่างเต็มใจจนเพื่อนร่วมห้องหลายคนยังแปลกใจทั้งที่มันไม่ใช่เรื่องที่จะเห็นด้วยแต่อย่างใด ซึ่งแรงจูงใจมาจากตอนจบในภาคแรกที่ซูยะได้ลงมือทาเคชิและชิโอริมีเหตุผลที่จะยอมเข้าเล่นเกม BR เพราะต้องการแก้แค้นให้พ่อของเธอ แต่ด้วยประเด็นนี้ได้ถูกโยนข้ามไปไกลเกินไปจนเสมือนใส่ๆเข้ามาให้เนื้อเรื่องมีอะไรน่าสนใจก่อนจะสรุปลงอย่างง่ายๆโดยมีประโยคเด็ดเตือนใจในระหว่างเรื่องเข้ามาขยายความว่า”ถ้าเกลียดใครแล้วจงพึงสังวรเอาไว้ให้ดี” นั้นเป็นคำพูดของทาเคชิที่พูดเอาไว้ต่อชิโอริโดยที่ทราบกันนิดๆว่าทาเคชิมีปัญหาเรื่องครอบครัวในภาคแรกและถูกลูกสาวเกลียดจนไม่ได้เรียกทาเคชิว่าพ่อแต่เรียกชื่อจริงเท่านั้น นับเป็นอีกหนึ่งข้อคิดที่น่าเห็นใจและควรเอามาตระหนักในชีวิตจริงได้อย่างดีเลยทีเดียว น่าเสียดายที่ประเด็นนี้เบาเกินไปและไม่ค่อยซาบซึ้งเท่าที่ควร
นอกจากประเด็นอย่างอื่นแล้วยังมีประเด็นทางสังคมที่ตัวหนังเปิดด้วยอิทธิของสื่อได้อย่างน่าเหลื่อเชื่อด้วยการทำให้เกม BR2 ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้เป็นที่รู้จักในสังคมโดยเฉพาะการนำเสนอที่เห็นเหล่านักข่าวเข้ามาเก็บภาพของนักเรียนที่โดนจับมาเข้าร่วมเกมประหนึ่งเป็นเกมโชว์ที่บอกว่ามีใครที่โดนเกมนี้นี้บ้างอย่างน่าตื่นเต้นแทนที่จะเป็นเรื่องน่าสลดใจแท้ๆ หรือเป็นการบอกนัยๆด้วยแล้วว่าการแสดงความเห็นของรัฐบาลเป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคมไปแล้วไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่งและเหมือนจะเป็นส่วนมากไม่งั้นต้องมีการต่อต้านกลุ่มอื่นๆกันบ้างที่ไม่ใช่กลุ่มของซูยะอย่างเดียว และไม่ใช่แค่นั้นที่เรื่องการยอมรับความรุนแรงจะมีเพียงเท่านี้เพราะรัฐบาลแก้ที่ปลายเหตุจนเป็นสาเหตุของการต่อต้านในสังคมที่แข็งข้อยิ่งกว่าเดิม จากประเด็นในภาคแรกที่ออกข้อบังคับให้นักเรียนฆ่ากันเองเพื่อลดจำนวนประชากรที่ไม่เอาไหนจากนักเรียนมาหนึ่งห้อง อันที่จริงรัฐบาลจัดการให้จบๆด้วยการฆ่านักเรียนพวกนี้ไปเลยทีเดียวไม่ต้องเสียเวลาจัดเกมขึ้นมาก็ยังได้ แต่ที่ต้องทำเพื่อดูสภาพสังคมว่าแคร์ได้มากแค่ไหนกับตอนนี้ที่เป็นอยู่ซึ่งผลยังเลวร้ายไม่เปลี่ยนเช่นเดียวกับภาคนี้ที่ยังคงห่ำหั่นสู้กันระหว่างกลุ่มรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้าน
สุดท้ายนี้ใครจะถูกหรือใครจะผิดก็ล้วนมาจากการสั่งสอนอบรมแต่เนิ่นๆที่ไม่ใช่ตอนนี้หรือเดี๋ยวนี้แต่ควรเป็นมาตั้งนานแล้ว ที่สำคัญสุดคือจะสั่งสอนยังไงก็แล้วสมควรเป็นหนทางที่ถูกต้องมากกว่าจะเป็นเรื่องยุติธรรมจอมปลอมที่หลอกใช้ว่าดีแล้วอย่างทุกวัน เพราะสุดท้ายนี้ผลลัพธ์จะออกมาแบบไหนก็มาจากคนรุ่นหลังกระทำทั้งนั้น เนื่องจากพวกเขาคือผู้ประพฤติตามน่ะสิส่วนเราเป็นผู้ริเริ่ม
กลับมาเข้าตัวหนังกับ Battle Royale II ที่ภาคนี้มีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนไปมากตั้งแต่พล็อตเรื่องตลอดจนการนำเสนออย่างที่ไม่คุ้นเลยสักนิดจากภาคแรก จะว่าดราม่ามากกว่าเดิมก็ไม่ใช่เพราะจริงอยู่จะพยายามเพิ่มมิติตัวละครให้ลึกขึ้นแต่ผิวเผินแล้วยังดูราบเรียบไปหน่อยไม่ต่างกับเพื่อนปกติที่ไม่ทิ้งกันอยู่แล้ว ไม่เหมือนภาคแรกที่กินคำว่าเพื่อนได้ไม่เต็มปากว่าอะไรคือมิตรแท้อะไรคือศัตรูเพราะเพื่อนคือคำที่อยู่คั้นระหว่างกลางในจุดนี้คือการเอาตัวรอดเพียงหนึ่งเดียว พอกับภาคนี้แสดงเห็นด้วยการนำคำว่าเพื่อนที่แตกแยกและแตกต่างในครั้งก่อนมาผูกโยงให้สนิทแน้นแฟ้นด้วยปลอกคอระเบิด
คำถามคือนี้เป็นการประชดประชันใช่หรือไม่ในเมื่อครั้งก่อนไม่อยากฆ่าเพื่อนจึงเป็นเหตุให้หนนี้มีการจับคู่ด้วยปลอกคอระเบิดที่ว่าใครคนหนึ่งตายอีกคนก็จะตาย ซึ่งมันคุ้นหูมิใช่น้อยกับคำว่า”เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก”แล้วใครอยากจะตายเพราะเพื่อนล่ะในเมื่อยังไม่อยากตายในตอนนี้ ฉะนั้นแล้วนี้จึงไม่เป็นการลำบากอีกต่อไปในการลงมือฆ่าเพื่อนแต่เป็นการประคับประคองเพื่อนให้รอดไปด้วยกันให้ได้ และจุดนี้เองที่ทำให้การฆ่ากันเองเปลี่ยนรูปทรงกลายเป็นฆ่าศัตรูหรือกลุ่มต่อต้านที่มีซูยะเป็นหัวนำขบวนการนี้ ดังนั้นรูปแบบหนังจึงไม่ออกสะเทือนใจกับการฆ่าเพื่อนแต่เป็นการนำฉากแอ็คชั่นเข้ามา
โดยเฉพาะการใช้ฉากระเบิดที่ค่อนข้างเยอะมากในภาคนี้จนเห็นแล้วยังเบื่อได้ ตลอดจนการยิงกันแทบทั้งเรื่องที่อาจทำให้สนุกและมันส์ได้ในบางโอกาส อันที่จริงดูไปแบบไม่คิดอะไรก็เพลินดีในมุมเอาแอ็คชั่นเข้าว่าแต่คงไม่ดีเลยที่หนังหนักแอ็คชั่นจนล้นจนยาวร่วม 2 ชั่วโมงได้ และเพราะแบบนี้ประเด็นที่เนื้อหาควรจะแน่นกลับไม่ค่อยแน่นอย่างที่คิดนอกจากยกมาหลวมๆแล้วปล่อยไปไม่ต่างกับตอนจบที่ทำได้เหมือนจะเข้าใจในวิถีอะไรสักอย่าง ทว่ากลับตรงกันข้ามที่ออกมาไม่เคลียร์ในแง่ประเด็นเนื่องจากจบแบบปล่อยให้หลุดไปจนอดแปลกใจที่ย้อนกลับไปภาคแรกไม่ได้ว่ามันจบแบบนี้ได้ยังไงกัน
แม้จะไม่เป็นที่ถูกใจอย่างที่คิดในการสานเนื้อเรื่องต่อที่ขยายจากผู้เคราะห์ร้ายมาเป็นผู้ต่อต้านในแบบที่เชิงช้าและหมดหนทาง แต่อย่างน้อยก็บอกว่าเพลินดีสนุกดีไม่ทำให้ผิดหวังจนเกินไปเพราะยังมีแอ็คชั่นฝ่าดงกระสุนมาให้ดูมันส์ๆได้บ้าง เกือบลืมบอกไปว่าภาคนี้ตายกันเร็วมากพอๆกับใบไม้ร่วงที่ยังไม่พ้นครึ่งชั่วโมงแรกก็นับได้เกินสิบรายแล้ว ประมาณว่าคนนี่ระเบิดทีคนนั้นระเบิดตามเป็นช่วงเวลาที่น่าใจหายที่สุดเพราะใครจะไปรู้ล่ะคนที่น่าจะมีโอกาสรอดจู่ๆต้องมาตายเพียงเพื่อนที่จับคู่มาตายก่อน เอาเป็นว่าดูสนุกในระดับหนึ่งไม่ถึงกับแย่แค่ดึงประเด็นมาขยี้ไม่มากพอเท่านั้นแหละ